===Not Click=== ===Not Click===

พระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก





“พระนางพญา” เป็นพระกรุเก่าแก่ ถูกจัดอันดับไว้ในพระเครื่องชุดเบญจภาคี หมายถึงพระเครื่องยอดนิยม ๕ องค์ ได้แก่ พระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพฯ พระนางพญา พิษณุโลก พระซุ้มกอ กำแพงเพชร พระผงสุพรรณ สุพรรณบุรี และพระรอด ลำพูน

ในวงการพระเครื่องได้มีการจัดหมวดหมู่ตัวแทนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ๕ ยุคสมัยไว้ด้วยกัน กล่าวคือ พระรอด เป็นตัวแทนสมัยทวารวดี พระผงสุพรรณ ตัวแทนสมัยอู่ทอง พระซุ้มกอ ตัวแทนสมัยสุโขทัย พระนางพญา ตัวแทนสมัยกรุงศรีอยุธยา พระสมเด็จวัดระฆัง ตัวแทนสมัยรัตนโกสินทร์

“มวลสารเป็นดินเผาผสมว่านและสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่น ๆ คลุกเคล้าเข้าด้วยกัน แม่พิมพ์เป็นศิลปะสกุลช่างสุโขทัย ลักษณะปฏิมากรรมแบบนูนต่ำ ในทรงสามเหลี่ยม ประทับนั่งปางมารวิชัย สันนิษฐานว่าน่าจะพิมพ์ครั้งละหลาย ๆ องค์ แล้วใช้ของมีคมตัดออกจากกัน ก็เลยมีรอยครูดที่เรียกว่า รอยตัดตอก ทำเสร็จก็แจกทหารเพื่อเป็นขวัญกำลังใจ ที่เหลือก็นำไปบรรจุกรุในเจดีย์ตามวัด เช่น วัดนางพญา เป็นต้น”

พระนางพญา กรุวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลก


พระนางพญาพิษณุโลก จัดว่าเป็นพระเนื้อที่มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นพระชั้นนำที่สุดของเมืองพิษณุโลกและถูกจัดให้เป็นพระในชุด “เบญจภาคี” ที่ถือว่าสุดยอดของประเทศไทยอีกด้วย พระนางพญากำเนิดที่ “วัดนางพญา” พิษณุโลกความจริงวัดนางพญาก็เป็นวัดเดียวกับ “วัดราชบูรณะ ต่อมาภายหลังได้สร้างถนนผ่ากลางเลยกลางเป็น 2 วัด การได้ชื่อว่า “วัดนางพญา” ก็เพราะได้พบพระนางพญานั่นเอง

ตามการสันนิฐาน พระนางพญานั้นเป็นผู้ที่สร้างคือ “พระวิษุสุทธิกษัตรี” มเหสีของ “สมเด็จพระมหาธรรมราชา” ผู้ที่ได้สร้างหรือปฏิสังขรณ์วัดราชบูรณะ ซึ่งเป็นบริเวณที่พบพระนางพญานั่นเอง เข้าใจว่าการสร้างพระนางพญานั้นประมาณปี พ.ศ. 2090 – 2100 หรือประมาณสี่ร้อยกว่าปี
พระนางพญา เป็นพระรูปทรงสามเหลี่ยมทุกพิมพ์นั่งมารวิชัยไม่ประทับบนอาสนะหรือมีฐานรองรับ รูปทรงงดงามแทบทุกพิมพ์โดยเฉพาะจะเน้นบริเวณอกที่ตั้งนูนเด่นและลำแขนทอดอ่อนช้อยคล้ายกับ “ผู้หญิง” จึงเรียกพระพิมพ์นี้ว่าพระพิมพ์ “นางพญา” อีกประการหนึ่งก็คือผู้ที่สร้างก็คือ “พระวิสุทธิกษัตรี” นั่นเอง

พระนางพญาถูกค้นพบเมื่อประมาณ พ.ศ. 2444 สมเด็จพระจุลจอมเกล้าพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จะเสด็จประพาสเมืองพิษณุโลก ทางจังหวัดจึงเตรียมการรับเสด็จที่วัดนางพญา โดยจัดการสร้างปะรำพิธีรับเสด็จ เมื่อคนงานขุดหลุมก็เกิดพบพระจำนานมาก ก็คือพระนางพญานั่นเอง ทางจังหวัดและเจ้าอาวาสก็เก็บพระเหล่านั้นไว้ พอสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จ ทางเจ้าอาวาสและทางจังหวัดก็ได้นำพระขึ้นทูลเกล้าฯ สมเด็จพุทธเจ้าหลวงก็ได้ทรงแจกจ่ายให้แก่ราชบริพารที่ตามเสด็จถ้วนหน้า ส่วนที่เหลือก็นำกลับกรุงเทพฯ

พระนางพญาถูกค้นพบต่อมาอีกหลายกรุ แต่ก็เป็นพระพิมพ์เดียวกันกับพระที่พบที่วัดนางพญาทุกอย่าง และเนื้อพระก็เนื้อเดียวกัน อาจจะแตกต่างกันก็เพียงภูมิประเทศที่ค้นพบ เช่น พบที่บ้าน “ตาปาน” บริเวณนี้น้ำท่วมประจำ พระเสียผิวมีเม็ดแร่ลอยมาก จึงเรียกว่า “กรุน้ำ” ในปี พ.ศ. 2479 มีผู้พบพระนางพญา ที่วัด “อินทรวิหาร” บรรจุอยู่ในบาตรที่เจดีย์องค์เล็ก

ต่อมามีผู้ค้นพบพระนางพญาที่วัดเลียบ (ราชบูรณะ) ในกรุงเทพฯ พบที่ “พระราชวังบวรมงคล” (วังหน้า) พบที่ “วัดสังขจาย” ฝั่งธนบุรี ครั้งสุดท้ายพบที่ “วัดราชบูรณะ” จังหวัดพิษณุโลกอีกครั้ง เมื่อมีการทำท่อระบายน้ำในบริเวณวัดในประมาณปี พ.ศ. 2532 พระนางพญา เป็นพระที่สร้างจากเนื้อดิน ผสมว่าน เกสรดอกไม้ 108 ตลอดจนแร่กรวดทรายต่าง ๆ แล้วนำไปเผา

ลักษณะของพระนางพญา พระส่วนใหญ่จะมีเนื้อหยาบ ที่ละเอียดอ่อนจะมีน้อยกว่ามาก มีทั้งหมด 7 พิมพ์ด้วยกัน คือ

1. พิมพ์เข่าโค้ง ถือเป็นพิมพ์ใหญ่พิมพ์หนึ่ง
2. พิมพ์เข่าตรง ถือเป็นพิมพ์ใหญ่ โดยเฉพาะพิมพ์เข่าตรง แยกออกเป็น 2 พิมพ์ด้วยกันคือ พิมพ์เข่าตรง “ธรรมดา” กับพิมพ์เข่าตรง “มือตกเข่า” แต่ทั้งสองพิมพ์ก็ถือว่าอยู่ในความนิยมเหมือนกันทั้งคู่
3. พิมพ์อกนูนใหญ่ ถือเป็นพิมพ์ใหญ่
4. พิมพ์สังฆาฏิ ถือเป็นพิมพ์กลาง
5. พิมพ์อกแฟบ (หรือพิมพ์เทวดา) ถือเป็นพิมพ์เล็ก
6. พิมพ์อกนูนเล็ก ถือเป็นพิมพ์เล็ก
7.พิมพ์พิเศษ เช่น พิมพ์เข่าบ่วง หรือพิมพ์ใหญ่พิเศษ

พระนางพญาไม่ว่าพิมพ์ไหน ลักษณะของเนื้อจะเหมือนกันหมด ผิดกันแต่พิมพ์ทรงเท่านั้น ส่วนทางด้านพุทธคุณนั้นยอดเยี่ยมทางด้านเมตตามหานิยม และแคล้วคลาดเป็นเลิศ สมกับเป็นหนึ่งในห้าชุดของชุดเบญจภาคีนั้นเอง

พระนางพญาเป็นพระดินเผาที่มีเนื้อหยาบที่สุดในบรรดาพระเนื้อดินชุดเปญจภาคี อีกทั้งยังฝังจมดิน ซึ่เป็นดินเหนียวริมน้ำเป็นเวลานานนับร้อยปี เนื้อพระจึงรักษาสภาพความแกร่งไว้ได้เป็นอย่างดี จุดเด่นของเนื้อพระนางพญา คือ มวลดินประเภทเม็ดทรายที่แทรกปนอยู่ในเนื้อเป็นจำนวนมากเรียกกันว่าเม็ดแร่ ขนาดสัณฐานของเม็ดทรายจะต้องใกล้เคียงกันทั่วองค์พระ เพราะเป็นเนื้อที่ผ่านการกรองมาแล้ว

การค้นพบพระนางพญาในยุคหลังในเวลาประมาณ พ.ศ.2470 องค์พระเจดีย์ด้านตะวันออก ของวัดนางพญาได้พังลง เจ้าอาวาสในยุคนั้นคือ พระอธิการถนอม ได้ให้ชาวบ้าน และพระเณรช่วยกันขนเอาดิน และเศษอิฐ เศษปูน จากซากเจดีย์ล่มนั้นมาถมคูน้ำ ต่อมาอีกหลายปี ก็กลายเป็นดงกล้วย เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2485 ชาวบ้านได้หนีภัยสงคราม เข้าไปหลบอยู่ในดงกล้วย และได้ทำการขุดหลุมหลบภัย จึงพบพระพญากระจายตัวจมอยู่ใต้พื้นดิน


นอกจากค้นพบ ที่วัดนางพญาแล้ว พระนางพญาถูกค้นพบต่อมาอีกหลายกรุ แต่ก็เป็นพระพิมพ์เดียวกัน กับพระที่พบที่วัดนางพญาทุกอย่าง และเนื้อพระก็เนื้อเดียวกัน อาจจะแตกต่างกันก็เพียงภูมิประเทศ ที่ค้นพบ เช่น กรุบางสะแก หรือที่เรียกว่ากรุน้ำ พบบริเวณพื้นที่ตำบลบางสะแก ริมฝั่งของแม่น้ำน่าน ด้านทิศตะวันตกของพิษณุโลก มักเรียกกันว่ากรุเหนือ พบประมาณปี พ.ศ.2497 พบพระนางพญาบรรจุอยู่ในหม้อดิน ฝังในดินจำนวน 3 ใบ พบพระมากกว่า 1,000 องค์ ที่พบพระนั้นมักจะมีน้ำท่วมขัง พระจึงเสียผิวและมีเม็ดแร่กรวดทรายปรากฏอยู่เรียกกันว่า "แร่ลอย"

กรุวังหน้าพบที่พระอุโบสถวัดพระแก้ววังหน้า ข้างโรงละครแห่งชาติ (ปัจจุบันเป็นวิทยาลัยนาฏศิลป์) โดยกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ได้จากเจ้าเมืองพิษณุโลก จึงทรงบรรจุไว้ในพระอุโบสถ ขณะที่กำลังบูรณะพระอุโบสถพบพระที่บริเวณใต้ฐานชุกชี พระที่พบเนื้อแห้งสนิทและลงรักปิดทองทุกองค์ สภาพของรักแห้งและร่อนออกง่าย พบจำนวนไม่มาก ต่อมามีผู้ค้นพบพระนางพญาที่วัดเลียบ (ราชบูรณะ) ในกรุงเทพฯ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เพราะโดนระเบิดโจมตีโรงไฟฟ้าวัดเลียบจำนวนไม่มาก เป็นพระลงรักปิดทอง อีกครั้งพบที่วัดสังข์กระจาย ฝั่งธนบุรีที่กำลังรื้อพระเจดีย์ครั้งนี้ ได้พระที่แห้งสนิท แต่ไม่ลงรักปิดทองจำนวนไม่มากนัก

ปี พ.ศ.2497 พบที่พระเจดีย์องค์เล็ก ที่วัดอินทรวิหาร คนร้ายได้แอบเจาะ พบพระนางพญาใส่ไว้ในบาตรพระ ที่ผุแล้ว พระชุดนี้จะมีคราบของสนิมเหล็กติดอยู่ พบพระนางพญาครบทุกพิมพ์ และยังพบลานทองจารึกไว้ว่า "พระที่บรรจุอยู่ในกรุนี้เป็นพระพิมพ์ที่ได้นำมาจากวัดนางพญา จังหวัดพิษณุโลกในปี พ.ศ.2444" ซึ่งตรงกับปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จฯ ประพาสเมืองพิษณุโลก

ครั้งสุดท้ายพบที่วัดราชบูรณะ จังหวัดพิษณุโลก อีกครั้ง เมื่อมีการทำท่อระบายน้ำ ในบริเวณวัด เมื่อประมาณปี พ.ศ.2532 พุทธคุณ เป็นพระสร้างความเด่น ด้านเมตตากรุณา


พระนางพญา มีลักษณะเป็นเนื้อดินเผา ผสมมวลสารพระธาตุเหล็กไหล เหล็กน้ำพี้ โพรงเหล็กไหล พระธาตุสีขาวขุ่น พระธาตุสีชมพู ผงถ่าน ใบลาน เกสรดอกไม้ ๑๐๘ ว่าน ๑๐๘ น้ำมนต์ทิพย์ ดินมงคลตามที่ต่างๆ ทรายเงิน ทรายทอง และศาสตราวุธต่างๆ จึงทำให้มีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก


ตำหนิเอกลักษณ์ การสังเกตุพระนางพญา

1. พระเกศเหมือนปลีกล้วย
2. ปรากฏกระจังหน้าชัดเจน
3. หน้าผากด้านขวาขององค์พระ จะยุบหรือบุบน้อยกว่า หน้าผากด้านซ้าย ขององค์พระ
4. ปลายหูด้านซ้ายมือขององค์พระ จะติดเชื่อมกับสังฆาฎิ
5. ปลายหูด้านขวามือขององค์พระ จะแตกเป็นหางแซงแซว
6. เส้นอังสะจะช้อนเข้าใต้รักแร้
7. จะมีเม็ดผุดขึ้นอยู่ระหว่าง เส้นอังสะกับเส้นสังฆาฎิ
8. ท้องขององค์พระจะมีกล้ามเนื้อเป็น ๓ ลอน
9. ปลายมือพระหัตถ์ข้างซ้ายขององค์พระ จะแหลมแตกเป็นหางแซงแซว
10. พระหัตถ์ที่วางบนเข่า จะไม่มีนิ้วมือยื่นเลยลงมาให้เห็น

ขอบคุณที่มา :