===Not Click=== ===Not Click===

สีของพระนางพญา


สีดอกจำปี



สีเขียวตับเป็ด


สีขมิ้นชัน


สีดำ


สีอิฐ

ทำไมพระนางพญา จึงมีหลายสี 


การดูสี ถือว่าเป็นไม้ตายในการดูพระนางพญา กรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก สร้างในยุคของ องค์พระวิสุทธิกษัตรีย์วิธีหนึ่ง พระและครูบาอาจารย์ตลอดทั้งคนเฒ่าคนแก่ท่านบอกว่าเขาทำไว้เพื่อให้ง่ายแก่การจดจำ ว่าพระนางพญาองค์ไหน ผสมมวลสารอะไรลงไปในเนื้อพระพิมพ์ต่างๆนั้นบ้าง พระนางพญาแต่ละพิมพ์แต่ละสี นอกจากจะผสมมวลสารหลักๆลงไปแล้ว ยังได้ผสมมวลสารของพระเกจิอาจารย์ที่สร้างและปลุกเสกไว้ส่วนตัว เพิ่มความขลังและความศักดิ์ สิทธิ์ลงไปด้วย อย่างเช่นผงอิทธิเจ ผงมหาอุด ผงปัดตลอด ผงสาลิกาป้อนเหยื่อ ผงพญาเต่าเรือนผงมงคลจักรวาฬ ผงพระเจ้า ๕ พระองค์ ผงอิติปิโสธงชัยและอื่นๆอีกมากเป็นต้น

พระและครูบาอาจารย์ในสมัยโบราณท่านมีเวทมนต์คาถาขลังและศักดิ์สิทธิ์ถึงขั้นพิสูจน์ได้ทุกองค์ ในสมัยนั้นแค่เห็นสีขององค์พระนางพญา คนก็รู้กันแล้วว่าพระนางพญาองค์นั้นมีคุณวิเศษโดดเด่นดีทางไหน พระเกจิอาจารย์ท่านใดเป็นผู้ปลุกเสก และผสมมวลสารอะไรลงไปบ้าง พระนางพญาแต่ละพิมพ์แต่ละสี จึงมีความสำคัญบอกให้รู้ถึงความขลังและความศักดิ์สิทธิ์ที่แตก ต่างกันได้เป็นอย่างดี สีที่ดูยากที่สุดคือ ( สีดำ ) ต้องดำสนิท ส่วนสีเขียวครกหิน จะเห็นสีดำออกเขียวเหมือนครกหินที่ขัดเงาแล้ว ต้องดูให้ดีๆ

ถึงตรงนี้คงจะหายสงสัยกันไปแล้วว่าทำไมพระนางพญาจึงมีหลายสี ด้วยเหตุผลดังกล่าว ข้างต้น จึงไม่สนับสนุนให้มีการล้างและทำลายความเก่าแก่ทางธรรมชาติทิ้งไป เนื่องจากพระนางพญาแต่ละองค์มีมวลสารพิเศษไม่เหมือนกัน ล้างดูยังไงก็เห็นมวลสารไม่เหมือนกันอยู่แล้ว

ความสำคัญของสีพระนางพญา 


ปู่บุญ ได้เล่าเรื่องของสีพระนางพญา กรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก ให้ฟังว่า พระนาง พญาแต่ละสี มีดีโดดเด่นต่างกันไป อย่างเช่น

- สีดอกพิกุลแห้ง, สีดอกจำปี, สีหัวไพลแห้ง

ดีทางเสน่ห์เมตตามหานิยม, ค้าขายดี, มีโชคลาภ, ฐานะไม่ตกต่ำ, ไม่ยากจน,

- สีเม็ดมะขาม

ดีทางทำให้ผู้คนเกรงขาม, มีพลังอำนาจในการบริหารงานใหญ่ๆ เหมาะสำหรับบุคคลที่ต้องการเป็นเจ้าคนนายคน ตลอดทั้งประสบความสำเร็จในตำแหน่งหน้าที่การงานไวๆ มีโชคมีลาภ ตลอดทั้งแคล้วคลาดจากอุบัติเหตุอันตรายต่างๆ

- สีครกหิน, สีเขียวครกหิน, สีเขียวตากบ, สีดำ 

ดีทางส่งเสริมให้มีหลักทรัพย์ โชคลาภ ความรุ่งเรือง มีฐานะมั่นคง และเอาชนะอุป สรรคตลอดทั้งแคล้วคลาดปลอดภัยจากอุบัติเหตุอันตรายต่างๆ

- สีแดง, สีอิฐ, สีขมิ้นชัน 

ดีทางโชคลาภ มีตำแหน่งหน้าที่การงานก้าวหน้า บริวารจงรักภักดี ร่ำรวยมั่นคง และแคล้วคลาดจากอุบัติเหตุอันตรายต่างๆ

- สีขี้ผึ้ง, สีตับเป็ด

ดีทางเสน่ห์เมตตามหานิยม เป็นที่รักใคร่หลงใหลแก่คนทั่วไป ทำธุรกิจใดๆประสบความสำเร็จได้โดยง่าย

ขั้นตอนการผสมเนื้อพระ


มีเรื่อเล่ากันต่อๆมาว่า ขั้นตอนการผสมเนื้อพระนางพญาจะเริ่มต้นด้วยการนำดินไปผสม น้ำสี ที่ทำจากเปลือกและดอกไม้มงคลต่างๆ แล้วนำไปตำจนดินเหนียว ต่อจากนั้นก็นำดินที่ผสม

แล้วไป ( กด ) ลงใน แม่พิมพ์แต่ละพิมพ์ จากนั้นก็เอาพระไปตากแดดจนแห้ง แล้วนำไปบรรจุไว้ใน ( ไห ) โดยมีแกลบ มีขี้เลื่อย มีหญ้าคาสับละเอียดลองรับ ไม่ให้องค์พระเบียดเสียดยัดเยียดกัน จนเกิดการแตกหักเสียหาย ขั้นตอนสุดท้ายก็นำไปเผาไฟทั้งไห

การนำพระเครื่องไปเผาไฟทั้งไห ก็เพื่อให้สีของเนื้อพระเป็นสีเดียวกันทั้งองค์ ไม่ดำครึ่งแดงครึ่ง เหมือนเผากุ้งเผาปลา สีที่กำหนดไว้มีดังนี้คือ สีขมิ้นชัน สีหัวไพลแห้ง สีดำ ดอกจำปี สีครกหิน สีเขียวครกหิน สีตับเป็ด สีแดง สีดอกพิกุลแห้ง สีขี้ผึ้ง สีเขียวตากบ สีเม็ดมะขาม และสีอิฐ

ถ้าสังเกตให้ดี จะเห็นว่าพระนางพญามีสีเสมอเหมือนกันทุกองค์ ไม่ดำๆด่างๆ ส่วนราดำ ราเขียวและขี้ตะใคร่ที่เกิดจากไอน้ำหรือความชื้นตกผลึกฝังลึกลงไปในเนื้อพระนั้น เกิดทับซ้อนขึ้นมา ตามธรรมชาติที่ผ่านกาลเวลามานานนับร้อยปีพันปีในภายหลัง มนุษย์ไม่สามารถทำเทียมเลียนแบบธรรมชาติได้ เป็นเหตุทำให้คนที่มีพระนางพญา แต่ไม่มีราเขียว ราดำ และขี้ตะใคร่ที่เกิดจากไอน้ำหรือความชื้นตกผลึกฝังลึกลงไปในเนื้อพระ พยายามล้างและทำลายหลักฐานความเก่าแก่ทางธรรมชาติที่ลอยอยู่บนผิวเนื้อพระออก เหลือไว้แต่สีอิฐ โดยอ้างว่าล้างเพื่อต้องการดูมวลสารให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

หากไปพบเห็นพระนางพญาที่ไหน ไม่มีสีดังตัวอย่างที่นำมาให้ชมนี้ ก็ขอให้รู้ไว้ว่าไม่ ใช่พระนางพญา กรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก ที่สร้างขึ้นในยุคขององค์พระวิสุทธิกษัตรีย์ แน่ นอน ส่วนจะเป็นพระนางพญาวัดไหน ใครเป็นผู้สร้าง ต้องไปสืบถามหาความรู้เพิ่มเติมกันเอาเอง ( ผู้จัดทำไม่มีนโยบายวิจารณย์หรือออกความเห็น ) เกี่ยวกับพระเครื่องของท่านผู้ใดในทุกกรณี

การดูสี ยุคขององค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช


การดูสีพระนางพญา สร้างในยุคของ องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ไม่มีอะไรซับซ้อน มีแค่สีอิฐ เนื้อหยาบและเนื้อละเอียดเท่านั้น ยุคแรกสร้างในสมัยที่องค์สมเด็จพระนเรศวรมหาราชขึ้นครองราชและประกาศอิสรภาพใหม่ๆ พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้งยุคนั้นจะปรากฏดวงตา ( โปน ) ออกมาเด่นชัด มีราเขียวราดำ และขี้ตะใคร่ที่เกิดจากไอน้ำและความชื้นตกผลึกฝังลึกลงไปในเนื้อพระหรือไม่ก็เกาะกันเป็นแผ่น เนื่องจากสร้างต่อจากยุคของ องค์พระวิสุท ธิกษัตรีย์ ยุคนี้คนทั่วไปเรียกกันว่า ( ยุคอินโดจีน )

ยุคต่อมา สร้างในช่วงสงครามใกล้สงบ มีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด เนื้อหยาบจะมีมวลสารปรากฏให้เห็นชัดเจน ส่วนเนื้อละเอียดมีมวลสารปรากฏอยู่บ้างเล็กน้อย มีพุทธคุณเหมือนกัน

เอกลักษณ์พระนางพญา


พระนางพญามีเอกลักษณ์โดดเด่นไม่เหมือนใครคือ ใช้ตอกมุงหลังคาตัดด้านข้างทั้งสามด้าน อาจมีบางท่านสงสัยว่าทำไมจึงใช้ตอกตัด ทั้งๆที่ในสมัยนั้นก็มีมีดใช้แล้ว นั่นเป็นเคล็ดลับของพระเกจิอาจารย์ในสมัยนั้น ที่ต้องการตอกและตรึงเวทมนต์คาถาให้อยู่คู่กับ พระนางพญาตลอดไป ไม่ต้องการให้ “ขอม” หรือใครมาแกล้งทำให้เสื่อมหรือคลายความขลังและความศักดิ์ สิทธิ์ไปได้

พระนางพญา กรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก ( แท้ ) ด้านข้างทั้งสามด้าน ต้องมีรอยขรุขระ ยุบตัวที่เกิดจากรอยตอกตัดแยกองค์พระออกจากกันชัดเจน ฝีมือมนุษย์ไม่สามารถทำเทียมเลียน แบบความเก่าแก่ตามธรรมชาติได้ โดยเฉพาะเนื้อพระต้องแข็งและแกร่งเหมือนหินหรือฟ๊อสซิล ( Fossil )

การจัดสร้างพระพิมพ์แต่ละครั้ง จะมีแม่พิมพ์หลายอัน แม่พิมพ์แต่ละอัน พิมพ์ได้ครั้งละ 3 องค์ คือพิมพ์ออกมาติดกันสามองค์ แล้วนำมาตัดแยกออกด้วยตอกมุงหลังคา เนื่องจากในขณะนั้น อยู่ในระหว่างศึกสงคราม ต้องทำกันอย่างรีบร้อน ทำให้ส่วนต่างๆขององค์พระมีการผิดเพี้ยนไปบ้าง แต่สภาพโดยรวม ยังคงอยู่ในสภาพเดิมๆ พระในแม่พิมพ์เดียวกันทั้งสามองค์ จะไม่เหมือนกันเลย สภาพของดินที่นำมาสร้างพระ ก็มีส่วนทำให้การพิมพ์พระเครื่องนั้นคลาด เคลื่อน ผิดเพี้ยนไป เนื่องจากในขณะที่พิมพ์พระลงไปในแม่พิมพ์ใหม่ๆ ดินยังสดและชื้น แต่พอนำไปเผาไฟก็มีการหดตัวตามธรรมชาติ ทำให้รูปทรงต่างๆขององค์พระผิดเพี้ยนไป เช่นเบี้ยวไปบ้าง งอไปบ้าง แอ่นไปบ้าง มีเศษดินตกหล่นไปเป็นส่วนเกินบ้าง ขึ้นอยู่ที่อุณหภูมิของไฟที่เผาบ้าง

เนื้อดินที่นำมาสร้างพระนางพญา


เนื้อดินที่นำมาสร้างพระเครื่องแต่ละยุคแต่ละสมัย ก็มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ถึงแม้จะไปนำดินในที่เดียวกันกับดินที่สร้างพระเครื่องเมื่อหลายร้อยปี มาสร้างใหม่อีกครั้ง เนื้อ ดินก็แตกต่างกันไปแล้ว ฝีมือมนุษย์ไม่สามารถทำเทียมเลียนแบบธรรมชาติ ที่ผ่านกาลเวลามานานๆได้ ฉะนั้นการสังเกตพระเครื่องเนื้อดินเผาว่าใหม่หรือเก่า ก็ดูได้จากสีและเนื้อดินที่นำมาสร้าง

หากท่านใดดูความแตกต่างระหว่างของเก่ากับของใหม่ ดินเผาเก่ากับดินเผาใหม่ไม่ออก ก็อย่าไปหวังว่า จะได้พระเครื่องแท้ของเก่าจริงๆไว้ครอบครอง การดูรูปทรงขององค์พระและดูตำหนิอย่างหนึ่งอย่างใดตายตัว จึงไม่ใช่เหตุผลที่จะนำมาตัดสินว่าเป็นพระแท้หรือไม่แท้ พระใน แม่พิมพ์เดียวกันทั้งสามองค์ก็ไม่เหมือนกัน แกะออกมาจากแม่พิมพ์เดียวกัน โดยบุคคลคนเดี่ยวกัน เวลาต่างกันไม่กี่นาที ก็ไม่เหมือนกันแล้ว การสร้างพระเครื่องจากแม่พิมพ์หลายอัน ทำโดยบุคคลหลายคน จะมีตำหนิเหมือนกัน ที่เดียวกัน ( ทุกองค์ ) ย่อมเป็นไปไม่ได้

การทำตำหนิ


ในสมัยโบราณการสร้างพระเครื่องยังไม่มีการทำตำหนิหรือเครื่องหมายใดๆที่องค์พระ ตำหนิต่างๆที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นโดยบังเอิญไม่ซ้ำที่กัน การจะนำตำหนิไม่ซ้ำที่กัน มาชี้เป็นมาตร ฐานตายตัวนั้นเชื่อถือไม่ได้

ปกตินักนิยมสะสมของเก่าทั่วไป จะอนุรักษ์ร่องรอยความเก่าแก่ทางธรรมชาติ ไว้ให้อยู่ ในสภาพเดิมๆ จะไม่ไปล้างหรือทำลายหลักฐาน ความเก่าแก่ทางธรรมชาติที่ผ่านกาลเวลา มานานนับร้อยปีพันปีทิ้งไปโดยเด็ดขาด ถ้าเป็นพระเครื่องก็ยิ่งจะต้องรักษาสภาพความเก่าแก่ ไว้เป็นหลักฐานในการสร้าง ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไปล้างหรือทำลายทิ้ง การเชื่อเหตุผลทางธรรม ชาติย่อมดีกว่าเชื่อเหตุผลจากบุคคลที่เกิดในยุคเดียวกัน เพราะธรรมชาติไม่เคยโกหกหลอกลวงใคร

ที่มา : http://www.dopratae.com